วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์
อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง
              เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจ และการขยายตัว
ของบริษัทมีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจ
ในแต่ละวัน
              เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้น และเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ. 2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสาร และเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่
ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยี มาช่วยงานเท่าใดนัก
              เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น
เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัย ให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา
ในภาวะสังคมปัจจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นตัวชี้บอกว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคสารสนเทศ ดังจะเห็นได้จากวงการศึกษาสนใจให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์งานต่างๆ มากขึ้น การบริหารธุรกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ ทั้งในระดับใหญ่และระดับกลาง ตลอดจนหน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์การด้วยการเก็บข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำผลลัพธ์มาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ
              ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ยุคแรกนี้เรียกว่ายุคการประมวลผลข้อมูล (data processing age)
a              ข้อมูลที่ได้มาควรจะต้องทำการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องทำการตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับ และข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีการคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา
aถ้าข้อมูลที่นำมาประมวลผลมีจำนวนมากจนเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ในเวลาอันสั้น ก็จำเป็นจะต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูล เมื่อข้อมูลอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ การแก้ไขหรือเรียกค้นสามารถทำได้ง่ายและสะดวก ขณะเดียวกันการทำสำเนาและการแจกจ่ายข้อมูล ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
a              งานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักจะเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างเช่น การทำบัญชีเงินเดือนของพนักงานในบริษัท ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะรวมกันเป็นแฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อพนักงาน เงินเดือน และข้อมูลสำคัญอื่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเรียกแฟ้มเงินเดือนมาประมวลผลและสรุปผลรวมยอดขั้นตอนการทำงานจะต้องทำพร้อมกันทีเดียวทั้งแฟ้มข้อมูล ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
a              แต่เนื่องจากระบบงานที่เกิดขึ้นภายในองค์การค่อนข้างจะซับซ้อน เช่น รายได้ของพนักงานที่ได้รับในแต่ละเดือน อาจไม่ได้มาจากอัตราเงินเดือนประจำเท่านั้น แต่จะมีมาจากค่านายหน้าจากการขายสินค้าด้วย ในลักษณะนี้แฟ้มข้อมูลการขาย จะสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเงินเดือน และสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลอื่น ๆ เช่น ค่าสวัสดิการ การหักเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น ระบบข้อมูลจะกลายมาเป็นระบบที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มมาเชื่อมสัมพันธ์กัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะเรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามชิ้นงานที่ต้องการก็ยิ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ระบบข้อมูลนี้จะเรียกว่า ระบบฐานข้อมูล (database)
การจัดการข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ซึ่งนำไปช่วยงานด้านต่าง ๆ อย่างได้ผล ระบบข้อมูลที่สร้างเพื่อใช้ในบริษัทจะเป็นระบบฐานข้อมูลของกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงสารสนเทศที่เป็นจริงของบริษัท สามารถนำข้อเท็จจริงนั้นไปวิเคราะห์และนำผลลัพธ์ไปประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการต่าง ๆ


ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อยู่ที่การใช้สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มของระบบจัดการข้อมูลของยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนจากระบบงานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processing) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่าง ๆ ผ่านเครื่องรับ-จ่ายเงินอัตโนมัติ หรือระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM)
ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ยังอยู่ในยุคของการประมวลผลสารสนเทศ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้ (Knowledge Base Processing) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่าย รู้จักตอบสนองกับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับสูง ด้วยการเก็บสะสมฐานความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้างการให้เหตุผล เพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน
การประมวลผลฐานความรู้เป็นการประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่ หุ่นยนต์ (Robot) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ และการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ด้วยความก้าวหน้าของไอทีและระบบการสื่อสารที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเกิดของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การดำเนินชีวิตของคน เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดได้แก่ การส่งจดหมายที่ปัจจุบันมีการส่งในรูปแบบ Electronic mail อย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการส่งจดหมายแบบเดิมแล้ว ยังมีความรวดเร็วมากกว่าด้วย ทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้รับได้อย่างสะดวกสบาย รวมไปถึงปัจจุบันด้วยความสามารถของระบบ GPRS ที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เราจึงสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง Electronic mail ไปถึงผู้รับได้เช่นกัน
              ชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้านก็เช่นกัน จะเห็นได้ว่ามีที่อยู่อาศัยหลายโครงการในปัจจุบัน ที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาเป็นระบบบ้านอัจฉริยะ โดยทุกอย่างจะถูกควบคุม ผ่านมือถือ ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว นอกจากนี้เรายังสามารถติดกล้องวงจรปิด ให้ถ่ายภาพส่งทุกนาที หรือให้ถ่ายเฉพาะตอนที่มีการเคลื่อนไหวผ่านกล้องเท่านั้น ชีวิตภายนอกบ้านก็สามารถพบเห็นการประยุกต์ใช้ไอทีได้อีกเช่นกัน ดังเช่น โครงการนำระบบจราจรอัจฉริยะเข้ามาใช้บริหารระบบการจราจร และขนส่งภายในกรุงเทพฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
              นั่นเป็นเพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของการใช้ชีวิตในยุคดิจิตอล ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลมาจากการใช้ IT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง จึงหวังว่าท่านหลายคนคงปรับตัวและสนุกสนาน ไปกับชีวิตในโลกดิจิตอลนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น